วันอาทิตย์ที่ 31 สิงหาคม พ.ศ. 2551

กำลังไปที่ไหน?


เส้นทางของการต่อสู้ทางการเมือง ไม่เคยมีช่องว่างให้กับการหาเหตุผลที่เหมาะสม ที่เป็นประโยชน์แก่ส่วนรวมมากที่สุด ไม่เคยมี เพราะขั้วต่างๆจะต้องพยายามรักษาสถานะและผลประโยชน์ในอนาคตของตนเองเอาไว้ให้มากที่สุด


"ประชาชน" เป็นหรือคืออะไรในพื้นที่ทางการเมือง คือกองหนุนหลังของบรรดาขั้วต่างๆ ไม่ว่าจะในนามของพรรคการเมืองหรือคนที่กล่าวอ้างตนเองว่าเป็นผู้นำของภาคประชาชนก็ตาม ไม่เคยมีสักครั้งในประวัติศาสตร์ของการเมืองไทยที่ประชาชนจะได้ใช้วิจารณญาณอย่างรอบคอบของตนเอง ในการตัดสินใจทางการเมือง จะด้วยเหตุผลอะไรก็ตาม เมื่อถึงที่สุดก็ต้องปล่อยไปตามกระแสที่เชี่ยวกรากของช่วงเวลานั้น


หาก "โชค" เข้าข้างชัยชนะจะเป็นของ "ประชาชน" แต่หากไม่มี "โชค" ทุกสิ่งก็วนกลับสู่วงจรเดิมซ้ำแล้วซ้ำอีก ไม่เคยเปลี่ยนแปลง

วันพฤหัสบดีที่ 28 สิงหาคม พ.ศ. 2551

which way should we go next?


บ้านเมืองขณะนี้ร้อนเป็นไฟ ไร้เหตุผล ไร้ทางออก และกำลังเริ่มไร้มนุษยธรรมมากขึ้นทุกที

ทำไมคนเราจึงมีความโกรธ เคียดแค้น ได้มากมายนัก โดยเฉพาะเมื่ออยู่บนฐานของความเชื่อ อุดมการณ์ที่แตกต่างกัน เราพร้อมจะเข้าประหัดประหารกันได้ทันที โดยไม่ฉุดคิด


เราต้องการอะไรกันแน่ที่ปลายทาง ต้องการสังคมที่ทุกคนจะอยู่ด้วยกันอย่างสันติ? สังคมที่ทุกคนมีสิทธิเสมอภาค? สังคมที่ยุติธรรม? อย่างนั้นรึ ถ้าต้องการทั้งหมดที่ว่ามา เราคงมาผิดทางแล้วล่ะ เพราะทางที่กำลังเดินอยู่ มันคือเส้นทางที่จะไปสู่สังคมของความรุนแรง เอาแต่ใจตัวเอง ไม่มีความอดทน อดกลั้น ไม่ชอบเล่นในกรอบกติกา สังคมที่คนพร้อมจะทำลายทุกอย่างเพื่อให้ได้สิ่งที่ตัวเองการมาครอง...


แล้วเราจะอยู่ด้วยกันอย่างไรต่อไป..

วันศุกร์ที่ 22 สิงหาคม พ.ศ. 2551

กลับมาเจอกันอีกครั้ง




และแล้วการล่ำลาก็มาถึง เพื่อนพ้องต่างแยกย้ายออกเดินทางตามความฝันของตัวเองเหมือนเราเองที่กำลังทำตามความฝันของเราอย่างมุ่งมั่นต่อไป แม้ตระหนักว่าทางข้างหน้าไม่ง่าย บางขณะความกลัวก็เข้ามาเยือนอย่างเงียบๆ พอให้รู้สึกได้ถึงความเปราะบางของชีวิต แต่จะทำอย่างไรเล่า นอกจากเจอ ทักทาย และขอลา เพื่อรอเวลาที่อาจจะวนมาเยี่ยมเยียนอีกครั้ง การเดินทางคือการเริ่มต้นของการแสวงหา ค้นพบ ละทิ้ง เป็นวงจรแบบนี้ร่ำไป ไม่รู้จักสิ้นสุดตราบที่มนุษย์เรายังคงรักที่จะเดินทาง และยอมรับได้กับเงื่อนไขของการลาจาก


วันพฤหัสบดีที่ 14 สิงหาคม พ.ศ. 2551

How do we end fear?



We are discussing something which needs your attention, not your agreement or disagreement. We are looking at life most rigorously, objectively, clearly - not according to your sentiment, your fancy, what you like or don't like. It's what we like and don't like that has created this misery. All that we are saying is this: 'How do we end fear?' That's one of our great problems, because if a human being can't end it he lives in darkness everlastingly, not everlastingly in the Christian sense but in the ordinary sense; one life is good enough. For me, as a human being, there must be a way out and not by creating a hope in some future. Can I as a human being end fear, totally; not little bits of it? Probably you've never put this question to yourself, and probably you've not put the question because you don't know how to get out of it. But if you did put that question most seriously, with the intention of finding out not how to end it, but with the intention of finding out the nature and the structure of fear, the moment you have found out, fear itself comes to an end; you don't have to do anything about it.

…When we are aware of it and come into contact with it directly, the observer is the observed. There is no difference between the observer and the thing observed. When fear is observed without the observer, there is action, but not the action of the observer acting upon fear.


Krishnamurti.

วันพุธที่ 13 สิงหาคม พ.ศ. 2551

Sputnik Sweetheart รักเร้นลับในโลกคู่ขนาน


Haruki Murakami

แปลโดย นพดล เวชสวัสดิ์



"นั่นละ วิถีที่เราดำเนินชีวิต ไม่ว่าความสูญเสียจะสาหัสหรือเจ็บปวดสักเท่าใด ไม่ว่าสิ่งสำคัญที่สุดจะพรากจากชีวิตของเรา บางคราวก็ถูกยุดยื้อกระชากไปจากมือ เราอาจเปลี่ยนแปลงเป็นอีกคนที่ยังสวมหน้ากากเค้าเดิม ชีวิตก็ยังดำเนินต่อไป ในความเงียบงัน เราคืบคลานมาใกล้ขอบกาลเวลาที่จัดสรรไว้ให้หนึ่งชีวิต โบกมืออำลาอดีตลาลับที่ทิ้งไว้เบื้องหลัง ทำเช่นนี้ซ้ำซาก ทำซ้ำอยู่ทุกเมื่อเชื่อวัน หว่านโปรยปรายความอ้างว้างเปล่าเปลี่ยวไว้เป็นสายเส้นทางหยักคดโค้ง"

วันจันทร์ที่ 11 สิงหาคม พ.ศ. 2551

ครั้งแรก มูราคามิ


South of the border,west of the sun
การปรากฎตัวของหญิงสาวในคืนฝนตก


นี่คือหนังสือเล่มแรกของมุราคามิที่เริ่มอ่าน ผลงานแปลภาษาไทยโดย โตมร ศุขปรีชาข้อเขียนของเขาช่างละเอียดถี่ถ้วน
เหลือเกินในการสร้างให้ตัวละครสำรวจความรู้สึกและจิตวิญญาณของตนเอง

เข้าใจแล้วว่าคนจำนวนหนึ่ง (ที่มาก) ทำไมถึงหลงใหลงานของมูราคามิ เพราะมันช่วยกระเทาะเปลือกที่ห่อหุ้มตัวเราได้ทีละเล็กทีละน้อย โดยเฉพาะผู้คนในสังคมเมืองสมัยใหม่อย่างเราๆ ที่หล่อมหลอม
เปลือกมาอย่างสลับซับซ้อน และแทบไม่รู้ตัวว่าสิ่งที่อยู่ข้างในมันคืออะไรกันแน่

จากนวนิยายเล่มนี้ทั้งเรื่องเป็นการบอกเล่าเรื่องราวชีวิตของผู้ชายคนหนึ่ง
ทุกช่วงเวลาที่เขาเติบโต การเปลี่ยนแปลงข้างนอก และ ข้างใน ตัวเอง ที่เชื่อมโยงอยู่กับการรอคอยที่จะได้เจอผู้หญิงที่เขารักตั้งแต่สมัยเด็ก เวลาผ่านไปแต่ไม่ได้ทำให้สิ่งที่ดำรงอยุ่ในจิตวิญญาณของเขาเปลี่ยนไป การเติบโตและเปลี่ยนแปลง อันที่จริงชีวิตข้างนอกเขาน่าจะมีความสุขมากล้น เพราะมีทุกสิ่งที่มนุษย์ธรรมดาพยายามจะมีให้ได้แม้กระทั่งความรักที่เขาก็คิดว่าตัวเองมีอยู่ แต่ไม่ว่าอย่างไรเขาก็รู้สึกมากขึ้นว่าตัวเองนั้น"ขาด" บางอย่าง มันไม่ใช่สิ่งของภายนอก แต่มันคือสาระทางจิตวิญญาณ

มันจะเป็นอะไรนั้น ระหว่างทางที่ดิ้นรนเพื่อให้ได้มา ก็ทำให้เขายิ่งรู้จักตัวเองอย่างถี่ถ้วนทุกทีทุกที และแม้ว่าในท้ายที่สุดสิ่งที่เขาต้องการจะไม่ได้มา แต่คล้ายกับว่าตัวเขาเองได้ "ลอกคราบ" อีกครั้ง และเข้าใจมากขึ้นต่อโลกและชีวิตจริง และเลือกที่จะมีความสุขอยู่กับปัจจุบัน

มีสาระสำคัญของเรื่องเกี่ยวกับ "การเป็นลูกคนเดียว" ซึ่งรู้สึกเชื่อมโยงกับตัวเองมันคือภาวะที่หลายคนที่ไม่ได้เป้นอยู่อาจจะไม่มีวันเข้าใจได้ และแม้ว่าจะเป็นลูกคนเดียวเหมือนกัน ก็อาจจะไม่เข้าได้เช่นกัน เราคือเพือนชีวิตของตัวเอง และมันเป็นความจริงที่ต้องยอมรับว่า เราก็หวงแหนชีวิตอันเป็นที่รักมากขึ้นทุกทีๆ พื้นที่อื่นข้างนอกมันอาจจะมีความสำคัญน้อยลงเมื่อเทียบกับพื้นที่ข้างในตัวเอง อย่างไรก็ตามเราก็ต้องผ่านจุดของการไขว่ขว้าหา "ข้างนอก" มาก่อน จึงจะเข้าใจว่า "ข้างใน" เราเองต่างหากที่ไม่เคยถูกเติมให้เต็มเลย และเราจะอยู่อย่างไรกับภาวะข้างในของเราเอง



"ใครคนหนึ่งแค่เพียงมีชีวิตอยู่ ก็สามารถทำลายชีวิตมนุษย์อีกคนได้ย่อยยับจนไม่อาจซ่อมแซม"


"บางครั้งแค่การมาสู่ของคนหนึ่ง อาจเปลี่ยนแปลงอีกคนหนึ่งไปชั่วชีวิต"


(ขอยกเครดิตของอรรถรสที่เกิดจากการได้อ่านนวนิยายเล่มนี้ให้แก่ผู้แปลเป็นอย่างยิ่ง)





วันอาทิตย์ที่ 10 สิงหาคม พ.ศ. 2551

คำอวยพร


ใครเคยมีปัญหากับการที่ต้องเขียนคำอวยพรให้แก่คนอื่นบ้าง ในที่นี้ให้ความหมายกับการเขียนให้แก่คนใกล้ชิด ที่มีความผูกพันกัน มากกว่าจะเป็นการเขียนให้ตามมารยาทแก่ผู้ใหญ่ เจ้านาย อะไรแบบนั้น สำหรับตัวเองการเขียนคำอวยพรไม่ว่าจะในโอกาสไหน หรือให้ใคร มันต้องใช้เวลาคิดเยอะเหมือนกัน เพราะมันหมายถึงการต้องนั่งทบทวนเรื่องราวความสัมพันธ์ระหว่างเรากับคนๆนั้น ว่าเป็นอย่างไร ดำเนินมาอย่างไร แล้วจึงมาเข้าประเด็นตามวาระโอากาสที่จะอวยพรอีก จะว่าไปแล้วก็คล้ายการเขียนบทนำของความเรียง(ประมาณนั้น)

สำหรับตัวเอง สิ่งที่น่าบันเทิงใจของการเขียนคำอวยพร คือ การได้ค่อยๆเรียบเรียงประสบการณ์ชีวิตที่มีร่วมกันมากับคนที่เราต้องการจะอวยพร มันช่วยให้มองเห็นความสัมพันธ์ พื้นที่ เวลา ที่มันมีความหมายมากมาย ฉะนั้นห้วงเวลาที่ "รำลึก" แล้วต้องมาเขียนก็เลยอยากจะเขียนให้มันได้อย่างใจ บางทีเราก็พยายามสรรหาถ้อยคำหรูหรา ลึกซึ้ง (เกินไป) มาประดับในการ์ดอวยพร แต่พออ่านไปอ่านมาก็รู้สึกว่ามันประดิดประดอยไปหน่อยมั้ย(เนี่ย) ช่วงหลังๆเลยใช้คำแบบง่าย ตรง เหมือนที่เรารู้สึกไปเลยดีกว่า พออ่านแล้วก็จริงใจดี

การเขียนอวยพรจึงกลายเป็นความคาดหวังส่วนตัวไปโดยปริยาย ว่าต้องเขียนให้มีความหมายเหมาะกับคนๆนั้น และสอดคล้องกับความสัมพันธ์ระหว่างกันด้วย ไม่ใช่เขียนอะไรที่ "ห่าง" "กว้าง" ราวกับเป็นคนห่างๆเหินๆ กัน เหมือนกับย้อนมาที่ตัวเรา ก็ชอบเก็บการ์ดอวยพรในโอกาสต่างๆที่คนอื่นให้เอาไว้เช่นกัน ไม่ว่าจะเป็นใบเล็กใบน้อย และบางครั้งคราวก็เอามานั่งดูเล่นเพลินที่เดียว ดังนั้นจึงรู้สึกว่าทุกข้อความที่ให้ใครไปก็ตาม ไม่ว่าจะอยู่ในรูปแบบไหน จะเป็นเหมือนหลักฐานจากห้วงเวลานั้นที่จะอยู่กับทั้งเราและใครก็ตามที่เราอวยพรไปตลอด ก็เลยพยายามให้ความใส่ใจกับการเขียน "อวยพร" แก่ทุกคน ในทุกครั้งไป แม้ว่าหลายครั้งมันดูเหมือนจะไม่ใช่คำ "อวยพร" เท่าไหร่นัก

วันศุกร์ที่ 8 สิงหาคม พ.ศ. 2551

Savages


Savages.

เป็นเรื่องราวของครอบครัว Savage ของสองพี่น้องที่กลับมาใช้ชีวิตด้วยกันอีกครั้งเพราะต้องดูแลพ่อซึ่งป่วยหนัก ครอบครัวทั้งหมดแยกย้ายกันอยู่มานาน และดูเหมือนก็ไม่ได้มีความผูกพันอะไรกันมากมาย ด้วยทั้งสองไม่เคยได้รับความดูแลเอาใจใส่จากพ่อและแม่ ฝ่ายพ่อที่ไปใช้ชีวิตอยู่กับภรรยาใหม่ และแม่ที่หายไปโดยไม่ได้รับข่าว พี่น้องทั้งสองดำเนินชีวิตตามทางของตนเอง พี่ชายเป็นอาจารย์สอนปรัชญาการละครในมหาวิทยาลัย ส่วนน้องสาวไม่ได้ทำงานอะไรเป็นหลักแหล่งแต่มีความฝันที่จะมีบทละครเวทีเป็นของตนเอง


เมื่อทั้งสองต้องกลับมารวมตัวกันเพื่อรับพ่อมาดุแลระยะสุดท้าย จึงทำให้เห็นความขัดแย้งภายในจิตใจของทั้งสองอยู่ตลอดเวลา ความสัมพันธ์ที่เปราะบางของทุกคนในเรื่อง และความพยายามที่จะดูแลพ่อซึ่งทั้งสองไม่ได้รู้สึกผูกพันแต่สร้างรอยแผลในจิตใจของทั้งคู่มาตั้งแต่วัยเยาวว์

อย่างไรก็ตามเรื่องดำเนินเนื้อหาไปให้เห็นความพยายามที่จะสานสัมพันธ์ของครอบครัวอีกครั้ง รวมทั้งสร้างความไว้เนื้อเชื่อใจของพี่น้อง ที่มีเหตุให้สั่นคลอนอยู่ทั้งเรื่อง แต่ท้ายสุดช่วงเวลาที่ต้องดูแลพ่อความตายของพ่อก็ทำให้ความผูกพันกลับมาอีกครั้งหนึ่ง ปมของความไม่เชื่อใจก็คลี่คลาย


หนังเรื่องนี้ทำให้ Laula Linney ได้รับการเสนอชื่อเข้าชิงรางวัลนำหญิงยอดเยี่ยมของรางวัลออสการ์ครั้งที่ผ่านมา และเมื่อดูแล้ว เธอแสดงได้ยอดเยี่ยมจริง อันที่จริงรวมทั้งคนที่แสดงเป็นพี่ชายเธอด้วย Philip Seymour Hoffman


ครอบครัวเป็นเรื่องละอียดอ่อนยิ่ง บางครั้งก็ยากที่จะเอาบรรทัดฐานทางศีลธรรมตามปกติมาวัดทั้งหมดได้ว่าอะไรคือสิ่งที่ถูกต้องเหมาะสม เพราะทุกคนในครอบครัวต่างเป็นผลของกันและกัน จากการสร้างตัวตนที่หล่อหลอมจากครอบครัว มันมี "ชีวิต" ของมันเอง และต้องการเวลาที่จะคลี่คลายตามธรรมชาติ

วันจันทร์ที่ 4 สิงหาคม พ.ศ. 2551

Not here to be loved


Not here to be loved

เรื่องราวของชายคนหนึ่งที่ใช้ชีวิตอย่างโดดเดี่ยว ด้วยการดูแลบริษัทติดตามทวงหนี้ที่เป็นมรดกตกทอดมาของตระกูล ในเรื่องเขาใช้ชีวิตไปแต่ละวันด้วยสิ่งที่ต้องทำ กับการเดินทางไปดูแลพ่อที่สถานพักฟื้นทุกวันอาทิตย์ แต่ก็ต้องเบื่อหน่ายกับความเจ้าอารมณ์ของพ่ออยู่เสมอ นอกจากนั้นลูกชายจากภรรยาเก่าที่เข้ามาทำงานด้วยก็รู้สึกว่าตนเองเกลียดหน้าที่การงานนี้ เพราะไม่ชอบเวลาต้องไปทวงหนี้ใคร

เมื่อสุขภาพเริ่มแสดงอาการว่าเหนื่อยง่ายมากขึ้น เขาจึงไปปรึกษาแพทย์และได้คำแนะนำว่าควรหากิจกรรมที่ได้ออกกำลังร่ายกายบ้าง นั่นจึงเป็นที่มาของการไปเข้าเรียนคลาสสอนเต้นรำแทงโก ซึ่งสถานที่เรียนอยู่ตรงข้ามอาคารของบริษัทเขาเอง และเขามักจะเฝ้ามองผู้คนที่มาเรียนที่นั่นเสมอ

ที่ีีีนี่เขาได้พบกับหญิงสาวคนหนึ่ง ที่เข้ามามีอิทธิพลต่อความรู้สึกของเขามากขึ้นเรื่อยๆ เธอเข้าหาเขาด้วยท่าทีและความรู้สึกที่เปิดเผย จนกระทั่งเขาเริ่มมีใจให้เธอ แต่ทว่าสิ่งที่เธอไม่เคยบอกเขาก็คือว่าเธอกำลังจะเข้าพิธีแต่งงาน ฝ่ายหญิงสาวนั้นก็ต้องถูกทิ้งให้มาเรียนเต้นรำคนเดียว เพราะคู่หมั้นมัวแต่ตั้งหน้าตั้งตาเขียนหนังสือ ยิ่งใกล้วันแต่งงาน เธอก็เห็นสัญญาณหลายอย่างจากคู่หมั้น และเริ่มลังเลใจถึงอนาคต อีกทั้งก็รู้สึกว่าตนเองเริ่มผูกพันทางความรู้สึกกับชายที่คลาสแทงโกมากขึ้นทุกที พวกเขาทั้งสองมีเวลาได้ใกล้ชิดกัน ก็ตอนที่ซ้อมเต้นรำด้วยกันเท่านั้น

เมื่อวันนึงฝ่ายชายได้รู้โดยบังเอิญว่าเธอกำลังจะเข้าพิธีแต่งงาน เขาก็ถึงกับถอยห่างเธออกไป แต่ด้วยท่าทีเฉยเมย และปฏิเสธเธออย่างชัดเจนว่าไม่อยากเห็นหน้าเธออีก

เรื่องราวดำเนินไป พร้อมด้วยปมหลายอย่างเริ่มคลี่คลาย เมื่อพ่อของฝ่ายชายตายจากไปในที่สุด หลังจากที่เขาทะเลาะกันรุนแรงไม่นาน เมื่อมารับศพ เขาก็ค้นพบถ้วยรางวัลจากการแข่งขันเทนนิสของตนเองมากมาย ที่พ่อเคยบอกว่าทิ้งไปหมดแล้ว และเขาก็เริ่มมองเห็นอาชีพที่น่าเบื่อหน่ายของตนเอง และอนุญาติให้ลูกชายออกไปทำตามที่ตนเองพอใจ

เรื่องราวจบลงโดยไม่ได้สรุปอะไร เป็นแค่ฉากฝ่ายหญิงเริ่มรู้สึกทยไม่ไหว และแสดงอาการร้องไ้ห้ออกมาต่อหน้าคู่หมั้น เมื่อแม่และพี่สาวของเธอทะเลาะกันเรื่องงานแต่งงานของเธอ และฉากสุดท้ายเป็นฝ่ายชายที่กลับเข้าไปคลาสเต้นรำอีกครั้ง และทั้งสองก็เต้นด้วยกัน

หนังฝรั่งเศสเรื่องนี้ ดำเนินอย่างเรื่อยๆ ไม่ได้มีฉากอารมณ์อะไรที่บีบคั้นมากมาย แต่ความรู้สึกของตัวแสดงหลักทั้งสองแสดงออกมาระหว่างการเต้นรำ ดูเหมือนช่วงเวลาของการเต้นรำจะเป็นการเปิดเผยความรู้สึกของทั้งสอง และบทสรุปของหนังไม่มีอะไรชัดเจน ไม่มีการตัดสินอะไรในหนังทั้งสิ้น เรื่องราวเกิดขึ้น และดำเนินไปอย่างที่มันควรจะเป็นตามความจริง และไม่ได้ทิ้งท้ายอะไรไว้เพื่อให้เดาได้อีกด้วย

ดูหนังแล้วรู้สึกว่าทุกช่วงชีวิตก็ต้องเผชิญกับความสลับซับซ้อนทางอารมณ์และความรู้สึกของตนเอง ซึ่งนั่นอาจส่งผลต่อการตัดสินใจอะไรมากมายในชีวิตที่ตามมาหลังจากนั้น นอกจากนั้นที่สำคัยไม่มีอะไรรับประกันได้ว่าทุกอย่างในชีวิตจะดำเนินไปตามแผนทีเราวางไว้ได้อย่างราบรื่นหรือตลอดรอดฝั่ง

นี่คงเป็น "ชีวิต" ขึ้นอยู่กับว่าเราจะข้ามพ้นมันไปด้วยอย่างไร เพราะมันมักจะมีแบบฝึกหัดเข้ามาทดสอบอบู่เสมอ ว่าเราเลือกหรือตัดสินใจถูกต้องหมดแล้วหรือยัง

วันอาทิตย์ที่ 3 สิงหาคม พ.ศ. 2551

Condition of Love:the philosophy of intimacy


แนะนำหนังสือ Condition Of Love ชอง John Armstrong
ตอนนี้มีแปลเป็นภาษาไทย โดยคุณจิรนันท์ พิตรปรีชา
สำนักพิมพ์ฟรีฟอร์มเป็นผู้พิมพ์
แค่ตำโปรยก็น่าสนใจแล้ว
"ถ้าความรักทำให้คนตาบอด หนังสือเล่มนี้จะช่วยให้คนตาสว่างขึ้น"

ริมแม่น้ำเจ้าพระยา ท่าพระจันทร์







ฉันรักธรรมศาสตร์ เพราะธรรมศาสตร์.........

เดินเล่นแถวนี้มาหลายปี ยามเย็นของธรรมศาสตร์ก็ยังงามนัก
เส้นทางเดินเลียบแม่น้ำเจ้าพระยา น่านั่งเล่นที่สุด

วันศุกร์ที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2551

Joker & Terrorist


เมื่อวานเรียนหัวข้อ "การก่อการร้าย" (Terrorism) กับอาจารย์ชัยวัฒน์ สถาอานันท์

ฟังอาจารย์พูดตั้งแต่เรื่อง Framework, concept, How does it work? แล้วก็นึกถึงเรื่อง Batman:Dark Night ที่เพิ่งไปดูมาเมื่อสัปดาห์ก่อน


ตัว Joker มีลักษณะที่สามารถเป็น Terrorist ได้ทุกประการ ลองมาดูกันว่าลักษณะสำคัญของ Terrorism คืออะไร

1.สะบั้นความสัมพันธ์ระหว่างเป้าหมายความรุนแรงกับสาเหตุของความรุนแรงออกไป นั่นคือ ทำให้มูลเหตุที่(ปกติ)ที่มีความสมเหตุสมผลหายไป เช่น ฉันทำร้ายเธอเพราะเธอทำร้ายฉัน Terrorism จะไม่อยู่บนพื้นฐานเหตุผลนี้แต่อย่างใด ทุกคนสามารถเป็นเหยื่อได้เสมอ

2.สั่นคลอนความแน่นอน (Certainty) และ ทำลายความเป็นปกติธรรมดา (Normality) ทำให้ชีวิตปกติสามัญ ไม่ดำเนินไปอย่างนั้นอีกต่อไป คาดเดาไม่ได้ว่าวันนี้อะไรเกิดขึ้น แม้ว่าจะอยู่ในสภาพแวดล้อมที่คุ้นเคย

3.เปลี่ยนเหยื่อให้กลายเป็นผู้ก่อความรุนแรงเสียเอง อันนี้คือความโหดร้าย และ คำสาป ของสิง่นี้เลยก็ว่าได้เพราะเมื่อใครก็ตามที่ถูกกระทำความรุนแรงอย่างหนัก มักจะเปลี่ยนไปเป็นคนที่สร้างความรุนแรงกลับเสมอ(หากยกตัวอย่างในเรื่อง คือ อัยการฮาวี่ส์)


สามลักษณะที่ว่า สร้างความหวาดกลัว (Fear) ให้เกิดขึ้น และถือเป็นผลลัพธ์สำคัญ ของ Terrorism ที่ได้ผลตั้งแต่ก่อนยังไม่เกิดความรุนแรงเสียด้วยซ้ำ