วันจันทร์ที่ 29 มิถุนายน พ.ศ. 2552

แทบหยุดหายใจ...


ภาพบางภาพเห็นแล้วก็อยากหยุดหายใจ..












แสงอาทิตย์ยามเย็นนี่มันมีผลต่อความรู้สึกคนเราจริงๆ













วันเสาร์ที่ 27 มิถุนายน พ.ศ. 2552

The wisdom of forgiveness



เพิ่งซื้อหนังสือ "ปัญญาญาณแห่งการให้อภัย" เมื่อวาน ตั้งใจจะลองเดินทางไปด้วยกันและดูว่าจะนำพาเราไปอย่างไร ตั้งแต่ครั้งแรกที่เริ่มทำความเข้าใจ "การอภัย" จากงานอาจารย์ชัยวัฒน์ สถาอานันท์ (อภัยวิถี) ก็ยังคงมีร่องรอยของความสงสัยและขับข้องใจมาตลอด ขณะนี้จึงคิดว่าเป็นช่วงเวลาที่พอเหมาะกับการไปกับมันจนถึงที่สุดเสียที

วันพฤหัสบดีที่ 25 มิถุนายน พ.ศ. 2552

Let them pour out

Very few are aware of their inward changes, setbacks, conflicts and distortions. Even if they are aware they try to push them aside or run away from them. Don't you do it. I don't think you will, but there is a danger of living with your thoughts and feelings too closely. One has to be aware of one's thoughts and feelings, without anxiety, without pressure. The real revolution has taken place in your life, you should be very much aware of your thoughts and feelings - let them come out, don't check them, don't hold them back. Let them pour out, the gentle as well as the violent ones, but be aware of them.

Letters to a Young Friend - 16
JKrishnamurti.

วันจันทร์ที่ 22 มิถุนายน พ.ศ. 2552


เธอเห็นท้องฟ้านั่นไหม ฉันเก็บเอาไว้ให้เธอ และจะเป็นเช่นนั้นเสมอ

ถนนสายนั้นที่ทอดยาว คือเรื่องราวของความเป็นจริง
มีเงาไม้เอาไว้ให้พักพิง มีให้เธอเอาไว้ยามอ่อนล้า

เธอเห็นท้องฟ้านั้นไหม เห็นเงาของเมฆหรือเปล่า
ทะเลสีครามที่ทอดยาว เห็นความรักฉันบ้างไหม

วันจันทร์ที่ 15 มิถุนายน พ.ศ. 2552

ความเศร้าบางทีก็อยู่ลึกกว่าลึก สะสม เรื้อรัง อยู๋มานาน จนยากเกินจะแก้ไขด้วยเวลาเพียงสั้น ขอความอดทนและพลังชีวิตอยู่กับเราให้นานที่สุด นานพอจะกัดกร่อนความเศร้าให้มันสูญสลายไปอย่างไม่เหลือทิ้งเยื่อและใยไว้ตลอดไป

เราแทบจะไม่เคยกล้ายอมรับว่า บางครั้งเรามีความรู้สึก "เกลียด" ต่อบางสิ่งอันเป็นที่รักของเราเหลือเกิน และอารมณ์ความรู้สึกนั้นมันมักจะถูกแทนที่ด้วยการยอมรับความพ่ายแพ้ของตัวเองอย่างไร้เงื่อนไข นั่นอาจเป็นสัญญาณของการเตือนภัยว่าเส้นคั่นเวลาสุดท้ายใกล้ถึงแล้ว จะเตรียมออกวิ่งอย่างสุดแรงหรือจะล้มลงเพราะเหนื่อยแทบขาดใจ หรือหันหลังกลับไปเพราะเชื่อแน่ว่าอย่างไรก็ไปไม่ถึง

วันพฤหัสบดีที่ 11 มิถุนายน พ.ศ. 2552

Self-knowing implies self-abandonment

Surely, the mind has abandoned itself and its moorings only when there is no desire for security. A mind that is seeking security can never know what love is. Self-abandonment is not the state of the devotee before his idol or his mental image....Self-abandonment can come about only when you do not cultivate it, and when there is self-knowing. ...

When the mind has understood the significance of knowledge, only then is there self-knowing, and self-knowing implies self-abandonment. You have ceased to rest on any experience as a center from which to observe, to judge, to weigh; therefore, the mind has already plunged into the movement of self-abandonment. In that abandonment there is sensitivity. But the mind which is enclosed in its habits of eating, of thinking, in its habit of never looking at anything - such a mind obviously cannot be sensitive, cannot be loving.

In the very abandonment of its own limitations, the mind becomes sensitive and therefore innocent. And only the innocent mind knows what love is - not the calculating mind, not the mind that has divided love into the carnal and the spiritual. In that state there is passion and, without passion, reality will not come near you. It is only the enfeebled mind that invites reality; it is only the dull, grasping mind that pursues truth, God. But the mind that knows passion in love - to such a mind the nameless comes.

Collected Works, Vol. XI - 251
JKrishnamurti

วันอังคารที่ 9 มิถุนายน พ.ศ. 2552

เรื่องธรรมดาที่ยอมรับได้ยาก

เรื่องธรรมดาที่ยอมรับได้ยาก

มันไม่ง่ายที่เราจะสามารถจัดการแก้ไขทุกปัญหาได้อย่างเต็มที่และเต็มใจ ทั้งทั้งที่รู้ดีว่าต้องจัดการอย่างไร บางครั้งจึงเลือกที่จะต่อรองกับเวลาเพราะไม่อยากสูญเสีย แม้ว่าจะเห็นอยู๋ใกล้ๆว่าไม่มีเวลาเหลือให้ต่อรองมากนักยังไงก็ต้องถึงเส้นที่ขีดลากบอกว่ามาถึงจุดสิ้นสุดแล้วในไม่ช้า

สัญญาณเตือนภัยคือ ความกลัวและหวาดระแวงต่อภาวะที่มองไม่เห็น สุดท้ายเพราะไม่อยากยอมรับจึงเลือกทีจะกระโจนลงในหุบเหวของความกลัวในที่สุด

วันพฤหัสบดีที่ 4 มิถุนายน พ.ศ. 2552

"วันนี้ของพรุ่งนี้"

การเดินทางไปแม่สอดครั้งนี้ทำให้ได้เรียนรู้อะไรหลายสิ่งอย่าง ไม่ว่าจะได้เรียนรู้จักกับ "เพื่อนใหม่" ร่วมการเดินทางหลายๆคน ได้เรียนรู้กับ "ผู้คน" ที่เราไปใช้เวลาในการสนทนาเกี่ยวกับชีวิตและการทำงานของพวกเขาในพื้นที่ "ชายแดน" ยิ่งทำให้เราตระหนักว่า "พื้นที่ชายแดน" และ "คนชายแดน" มีความเป็น "พิเศษ" และ "ความอ่อนไหว" ยิ่งนัก การอาศัยอยู่ใน "เมืองส่วนกลาง" วิถีชีวิตของเราจึงไม่ค่อยรับรู้ถึง "ลักษณะอื่น" ที่ไกลออกไปรวมทั้งยังมีความเข้าใจความหลากหลายน้อยลงเรื่อยๆ

ตั้งแต่เริ่มต้นทริปที่ "ค่ายพักพิงชั่วคราว แม่หละ" เราได้เห็นอีกโลกหนึ่งที่เพื่อนมนุษย์อาศัยอยู่ ชีวิตที่ต้องถูกจำกัดบริเวณ จำกัดเสรีภาพ จำกัดโอกาส จำกัดคุณภาพชีวิต เนื่องมาจากการเป็น "ผู้อพยพพลัดถิ่น" จากความขัดแย้งทางการเมืองในประเทศพม่า สิ่งที่พวกเขาต้องการที่สุด คือการได้กลับ "บ้าน" และการได้มีเสรีภาพอย่างเต็มที่ในการดำเนินชีวิตปกติ ขณะนั่งฟังการสนทนา เราเห็นความหมายของการมีชีวิตอยู่ที่ง่ายงามที่สุดของเขา ไม่มีอะไรซับซ้อนมากไปกว่า ความหวังและความฝัน ของการได้ชีวิตที่ปกติกลับคืนมา เราเองยิ่งสะท้อนใจกับหลายๆครั้งที่มักจะพาชีวิตตัวเองให้ซับซ้อนเกินไป ยากเกินไป ติดกับมายาคติบางเกินไป จนหลงลืมความหมายที่แท้จริงของการมีชีวิตอยู่ การได้พบเพื่อนใหม่เหล่านี้จึงบันดาลใจให้ลดทอนมายาต่างๆที่เราเองสร้างขึ้นมาขอบเขตชึวิตปัจจุบัน และเห็นชัดเจนมากขึ้นว่าการมีชีวิตอยู่มันง่ายกว่าที่เราคิด

การได้เดินทางไปพบปะพูดคุยกับคนกลุ่มต่างๆในแม่สอด ทั้งครู ข้าราชการปกครองท้องถิ่น แพทย์ เอ็นจีโอ พ่อค้า ฯ ช่วยเราให้มองเห็นมิติที่สลับซับซ้อนของ "เมืองชายแดน" และเห็นความสำคัญขึ้นเรื่อยๆว่าเหตุใดเราจึงควรทำความเข้าใจอาณาบริเวณชายแดนของประเทศเราให้มากขึ้น เพราะนั่นเป็นช่องทางผ่านของ ผู้คนที่หลากหลาย ข้อมูล โรคภัยไข้เจ็บ ทรัพยากร ทุน ฯลฯ ก่อนที่จะทะลักเข้ามาสู่เมืองหลวงและแพร่กระจายไปยังส่วนต่างๆของประเทศ

การทำความเข้าใจกับความแตกต่างและหลากหลายของมนุษย์เป็นเรื่องยาก แต่คงหลีกเลี่ยงไม่ได้ ยิ่งการเดินทางครั้งนี้ ยิ่งเห็นมากขึ้นว่า เมื่อเราเปลี่ยนฐานของความคิดจากคนกล่มหนึ่งไปยังคนอีกกลุ่มหนึ่ง ความเชื่อ คุึณค่าของเราสามารถเปลี่ยนได้ทันที ยิ่งกว่านั้นยังมีความชอบธรรมด้วยซ้ำ นี่จึงเป็นความสลับซับซ้อนของการสร้างพื้นที่/ชุมชนของการอยู่อาศัยร่วมกันว่าเราจะทำอย่างไรที่จะประนีประนอมความแตกต่างหลากหลายนั้นได้หากเรายังต้องการสันติภาพของการอยู่ร่วมกัน

ขอบคุณอาจารย์เดชา ที่พาเราเดินทางทั้ง "ข้างนอก" และ "ข้างใน" แม้ว่าอาจารย์จะเหน็ดเหนื่อยกับการเตรียมการครั้งนี้มากเอาการ แต่พวกเรามีความสุขจริงๆกับการเดินทางครั้งนี้