วันพฤหัสบดีที่ 19 สิงหาคม พ.ศ. 2553

น้ำฝนกับช่อมะม่วง

"น้ำฝนมีความหมายต่อช่อมะม่วง แต่น้ำฝนก็มีอิสระจากช่อมะม่วง ฝนจะตกหรือไม่ก็ได้แล้วแต่ความพอใจของฟ้าฝน ในวันเมฆฉ่ำฟ้าครึ้มได้ที่ถึงไม่มีช่อมะม่วง ฝนก็ต้องตก ช่อมะม่วงเองก็ไม่ต้องพึ่งพาฟ้าฝนเสมอไป ปีไหนฝนไม่ไดีก็อาจยังมีช่อมะม่วง ฝนไม่ดี มีมะม่วงน้อย..เท่านั้นเอง กับชีวิตที่ดำเนินไปแต่ละวัน แต่ละปี ก็ไม่มีใครสำคัญสำหรับใครมากมาย ขนาดขาดใครคนนั้นไปแล้วไม่สามารถมีชีวิตอยู่ต่อไปได้ ขาดใครบางคนชีวิตยังอยู่ต่อไปได้ แต่..สุขน้อยเท่านั้นเอง"

จาก"สวีตหยดออนไลน์ (Cyber Romance),ปราย พันแสง

วันเสาร์ที่ 14 สิงหาคม พ.ศ. 2553

เขียนถึง "ยุโรปของเพลงดาบ"






หากจะไม่เขียนอะไรถึงหนังสือเล่มนี้เลยคงไม่อาจบอกตัวเองได้ว่าเป็นแฟน ตัวยงของนักเขียนที่มีนามปากกาเท่ๆว่า "เพลงดาบแม่น้าร้อยสาย" ย้อนกลับไปหลายปีดีดัก ต้องยกเครดิตทั้งหมดของความหลงใหลในหนังสือประเภท วรรณกรรมการเดินทาง (Travel literature) แก่เพลงดายฯ ที่ทำให้เรารักหนังสือปประเภทนี้จากที่ได้เริ่มต้นอ่านหนังสือของเธอ เพลงดาบฯเปิดโลกจินตนาการในการเดินทางกับเราโดยแท้ ทำให้เราตื่นตาตื่นใจกับการเดินทางแบบ "Back pack" ของผู้หญิงคนเดียวในอินเดียหรือทิเบต และการเดินทางแบบช้าๆ (Slow travel) ที่ค่ำไหนนอนนั่น ไม่เร่งรีบ รวมไปถึงการเลือกที่จะไปเมืองเล็กๆและเล่าเรื่องแบบมีแรงบันดาลใจจากข้างใน เป็นสีสันให้กับคนอ่านได้เคลิ้มคล้อยไปกับอารมณ์ละเมียดละไมของนักเดินทาง รวมไปถึงการเขียนโปสการ์ดที่ต้องยกให้ว่าเธอเป็น "เซียนโปสการ์ด" ของแท้และดั้งเดิม ที่กลายมาเป็นแรงบันดาลใจสำคัญในการสะสมของตัวเราเองและเริ่มต้นเขียน โปสการ์ดในที่สุด

ทั้งหมดข้างบนคืออารัมภบทที่ขอเขียน เกริ่นถึงนักเขียนซึ่งเป็นหนึ่งในบรรดาอันดับหนึ่งในดวงใจประเภทหนังสือท่อง เที่ยวและเดินทาง ที่ตื่นเต้นหนักหนากับหนังสือเล่มใหม่ล่าสุดนี้ก็เพราะหากใครติดตามหนังสือ ของเพลงดาบฯเหมือนกันคงพอรู้ว่านี่เป็นหนังสือเดินทาง(เต็มๆ)เล่มแรกในรอบ หลายปีของเธอ ฉะนั้นเมื่อเห็นแว่บแรกในร้านหนังสือจึงแทบกระโจนเข้าใส่และัเมื่อหยิบขึ้น มาลูบๆคลำๆก็พาลน้ำตาจะไหล (เว่อร์มาก) ดีใจยิ่งนักเหมือนได้เจอรักแท้ (ฮ่าๆ)

เรื่องราวในหนังสือเป็นการเดินทางยุโรปในสามประเทศ คือ ฝรั่งเศส เนเธอแลนด์ และเยอรมนี โดยที่มีเป้าหมายอยู่ตามบรรดาพิพิธภัณฑ์ศิลปะที่มีผลงานของศิลปินในดวงใจของ เพลงดาบฯ คือ Claude Monet (โมเนต์) ศิลปินภาพเขียนแนวอิมเพรชชั่นนิสต์ (Impressionism) ซึ่งเป็นแรงบันดาลใจในการท่องยุโรปครั้งนี้ ทริปเริ่มต้นที่ปารีสไล่ไปตามพิพิธภัณฑ์สำคัญๆที่มีงานของโมเนต์ โดยเฉพาะที่ Musee' National de l'Orangerie ที่แสดงผลงานชิ้นโบว์แดงของโมเนต์ไว้มากมาย เพลงดาบฯยกคำพูดของ ครูเทพศิริ สุขโสภา ขึ้นมาเมื่อได้ไปเยือนที่นั่นและพูดกับเจ้าหน้าที่ที่เฝ้าดูแลว่า "คุณรู้มั้ยว่าคุณกำลังยืนอยู่ ณ จุดที่ดีที่สุดแห่งหนึ่งบนโลกใบนี้" (การอ่านหนังสือเล่มนี้ทำให้ได้ความรู้เกี่ยวกับศิลปะแนวอิมเพรชชั่นนิสต์ ตามไปด้วย) การท่องเที่ยวตามแรงบันดาลใจโมเนต์ออกจาปารีสไปยังเมืองเล็กๆซึ่งเป็นบ้าน พักของเขาที่เมือง Giverny เมืองเล็กๆห่างออกไปประมาณ 80 กม. ที่พักอาศัยสะท้อนบุคคลิกและแรงขับดันสำหรับการสร้างสรรค์งานศิลปะได้เป็น อย่างดี เพลงดาบฯยังพาไปเที่ยวที่อื่นๆด้วยแนวคิดนี้อีก เช่น ที่พำนักสุดท้ายของแวนโก๊ะ (Vincent van Goh) ที่หมู่บ้าน Auvers-sur-Osie เป้นต้น หมู่บ้านนี้อยู่ห่างจากปารีสประมาณ 30 กม. ห้องของแวนโก๊ะเป็นเพียงห้องเช่าเล็กๆในโรงเตี๊ยมที่ชื่อ Auberge Ravoux ด้วยความขัดสนอย่างยิ่ง เขาเ้ป็นศิลปินคนหนึ่งที่ไม่มีโอกาสได้รับความชื่นชมและผลความสำเร็จในขณะ ที่ยังมีชีวิตอยู่แต่หลังจากนั้นร้อยปีงานของเขากลายเป็นของหายากและมี มูลค่ามหาศาลหรือบางชิ้นประมาณค่ามิได้

จากปารีสมุ่งหน้า สู่อัมสเตอร์ดัม จากการอ่านทำให้จินตนาการถึง คลองเล็ก คลองน้อยไหลผ่านกลางเมือง และผู้คนที่ขี่จักรยานกันควักไคว่ไปตามซอกซอย มาถึงอัมสเตอเร์ดัมส์เพลงดาบฯพาไปชมพิพิธภัณฑ์แอนน์ แฟรงค์ เด็กสาวที่บันทึกเรื่องราวของตนเองและครอบครัวระหว่างหลบอยู่ในห้องแคบๆนาน สองปีระหว่างการหลบหนีการไล่ล่าล้างเผ่าพันธุ์ชาวยิวของฮิตเลอร์สมัยสงคราว โลกครัง้ที่ 2 อีกสถานที่หนึ่งที่สำคัญคือบ้านของศิลปินและนักค้าชายผลงานศิลปะคนสำคัญของ ชาวดัตช์ Rembrandt ซึ่งมีชื่อเสียงกับผลงานภาพพิมพ์แบบ Etching "บ้านใครก็บ้านมัน" เป็นคอนเส็ปต์ที่เพลงดาบฯบอกว่าหากอยากรู้จักเจ้าของบ้านก็ต้องทำความณู้จัก กับบ้านของเขาให้เป็นอย่างดี บ้านของเรมแบรนด์นั้นหรูหราโอ่อ่าหากเทียบกับความเป็นอยู่อย่างขัดสนยิ่งนัก ของแวนโก๊ะสมัยเมื่อยังมีชีวิตอยู่ แต่ข้อจำกัดเหล่านั้นไม่ได้เป็นเงื่อนไขที่ไม่ยอมให้มนุษย์สร้างสรรค์ผลงาน ศิลปะที่ยิ่งใหญ่ได้

การเดินทางไปจบลงที่เบอร์ลิน ประเทศเยอรมนี เพลงดาบฯเล่าเรื่องจากทริป Walking Tour กรุงเบอร์ลินซึ่งพาไปยังสถานที่สำคัญๆในช่วงยังแบ่งแยกเป็นตะวันออกและตะวัน ตก อาทิ ฺBrandenburg Gate, Checkpoint Charlie, The Book Burning Memorial ในมหาวิทยาลัย Humboldt,The Berlinner Dome และจุดที่กล่าวถึงในตอนท้ายเล่มคือ Memorial of the Murdered Jews of Europe ซึ่งเป็นปะติมากรรมแม่งคอนกรีตสี่เหลี่ยมผืนผ้าสีเทาๆสูง เตี้ย ลดหลั่นไปมา ให้คนเข้าไปสัมผัสความรู้สึกขณะเดินผ่านเส้นทางที่แคบและยาวในนั้นเพื่อ ระลึกถึงความรู้สึกของชาวยิวจำนวนมากมายที่กำลังถูกพาไปยังค่ายกักกันและถูก ฆาตกรรมในที่สุด

หนังสือเล่มนี้เพลงดาบฯเขียนบรรยายสิ่ง ที่คล้ายๆจะเป็นความหมายของ "การเดินทาง" สำหรับเธอเอาไว้อย่างน่าสนใจ ที่พออ่านแล้วก็ทำให้นึกถึงว่าทุกๆครั้งของการเดินทางมันมีคุณค่าอะไรสำหรับ เราเองบ้าง เพลงดาบฯบอกว่า
"การเดินทางขยายขอบเขตความสนใจของเราทั้ง ในแนวกว้างและแนวลึก..สิ่งที่น่าสนใจที่ผ่านไปพบเจอสิ่งหนึ่งจะนำไปสู่สิ่ง น่าสนใจอื่นๆในวงกว้างขึ้นเสมอ ขฯะเดียวกันการเดินทางก็สามารถพาเราขุดลึกดำดิ่งลงไปในรายละเอียดของสิ่งที่ เราสนใจเป็นทุนเดิมอยู่แล้วได้ถึงใจกลางโลก ที่พิเศษเหนือสิ่งอื่นใด การเดินทางกอดคอพาเราไปเจอทุกสิ่งที่ว่ามาได้อย่างเปี่ยมชาติเป็นที่สุด"

ช้างบนเป็นบทสรุปอย่างดีที่ทำให้ยืนยันกับตัวเองได้ว่าเหตุใดเราถึงรักการเดินทางแบบ "เพลงดาบฯ" มากระทั่งถึงทุกวันนี้ :)

วันจันทร์ที่ 9 สิงหาคม พ.ศ. 2553

"ถ้าสามารถไม่คิดถึงอดีตได้ ก็จะสามารถเริ่มต้นอนาคตได้อย่างแท้จริง" จากละครเกาหลีที่ไม่สลักสำคัญแต่อยู่ๆก็มีประโยคสำคัญนี้ผุดขึ้นมา มีคนมากมายที่พยายามลืมอดีตที่เศร้าใจและพยายามหย่างหนักที่จะมีอนาคตในแบบที่ตัวเองต้องการ ตัวเราอยากมีพลังขับดันมากๆเช่นนั้นเหมือนกัน อยากมีให้มากกระทั่งว่าไม่นึกถึงเศษเสี้ยวเล็กน้อยของความทุกข์ที่เป็นอดีตอีกต่อไป

วันนี้เป็นสิ่งสำคัญที่สุดอาจจะมากกว่าวันพรุ่งนี้ด้วยซ้ำ ในยามที่ต้องทำในสิ่งที่ยาก ไม่ควรจะแบกภาระที่ไม่จำเป็นเอาไว้ ครูท่านหนึ่งเคยย้ำเตือนเสมอว่า "หากต้องการเดินทางไกล ต้องเตรียมพร้อมเสบียงกรังเอาไว้ให้อย่างดี เพราะนั่นคือสิ่งพิสูจน์ว่าใครจะเดินไปได้ไกลที่สุดและถึงเป้าหมายที่ตั้งใจไว้ได้อย่างแท้จริง"

วันอาทิตย์ที่ 8 สิงหาคม พ.ศ. 2553

From moment to moment

To watch constantly from day to day, from moment to moment, without drawing the conclusion or living in that conclusion, to watch in relationship without judgment, without comparison, but with constant awareness requires a great deal of persistency. Without doing that, all study of sacred books, all systems, have very little meaning; on the contrary, they are harmful to the mind which is stuffing itself with other people's ideas.

J.Krishnamurti
Madras 2nd Public Talk 6th December 1953 Collected Works

วันอาทิตย์ที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2553

A spring that knows no summer

Try remaining with the feeling of hate, with the feeling of envy, jealousy, with the venom of ambition; for after all, that's what you have in daily life, though you may want to live with love, or with the word `love'. Since you have the feeling of hate, of wanting to hurt somebody with a gesture or a burning word, see if you can stay with that feeling. Can you? Have you ever tried? Try to remain with a feeling, and see what happens. You will find it amazingly difficult. Your mind will not leave the feeling alone; it comes rushing in with its remembrances, its associations, its do's and don'ts, its everlasting chatter. Pick up a piece of shell. Can you look at it, wonder at its delicate beauty, without saying how pretty it is, or what animal made it? Can you look without the movement of the mind? Can you live with the feeling behind the word, without the feeling that the word builds up? If you can, then you will discover an extraordinary thing, a movement beyond the measure of time, a spring that knows no summer.

เราสามารถอยู่กับความรู้สึกที่ละทิ้งถ้อยคำต่างๆไว้เบื้องหลังได้หรือไม่ จะอยู่โดยปราศจากความรู้สึกที่ถ้อยคำเหล่านั้นสรรสร้างขึ้นมาได้อย่างไร แต่หากเป็นไปได้ เราจะค้นพบสิ่งมหัศจรรย์ และการเคลื่อนที่ซึ่งข้ามพ้นเงื่อนไขของเวลา เฉกเช่นฤดูใบไม้ผลิที่ไม่เคยรู้จักฤดูร้อนมาก่อน