วันอังคารที่ 28 กรกฎาคม พ.ศ. 2552

Bloggling

นึกบางอย่างขึ้นมาได้ระหว่างทำบล็อก ปรับโน่น เปลี่ยนนี่ นั่นคือ เราชอบมันเพราะเหมือนกับเรากำลังแต่งห้องส่วนตัวของเราอยู่ เราอยากจะเห็นหน้าตามันออกมาอย่างไร แสดงบุคลิกของเราอย่างไร ให้อารมณ์ความรู้สึกแบบไหน เป็นอย่างนั้นจริงๆ รู้สึกสนุกสนานทุกครั้งเวลาำปรับแต่งบล็อกส่วนตัว และก็ชอบเวลาเข้าไปดูบล็อกคนอื่น มันก็แสดงบุคลิกบางอย่างของเจ้าของได้พอสมควร บางทีเราก็ได้ไอเดียมาจากบล็อกคนอื่นด้วยเช่นกัน เป็นงานอดิเรกอีกอย่างที่ทำบ่อยที่สุด =)

วันเสาร์ที่ 25 กรกฎาคม พ.ศ. 2552

April Bride


"การมีชีวิตอยู่เป็นเรื่องอัศจรรย์" เรามักจะคิดเช่นนั้นได้เมื่อต้องอยู่ในภาวะที่ใกล้จะสูญเสียชีวิตไป ? เรื่องราวของความรักของคนคู่หนึ่งที่พยายามจะประคับประคองวาระสุดท้ายของอีกฝ่ายหนึ่งไปจนถึงฝั่ง การตามเก็บความฝัน ความหวัง ของชีวิต เพื่อตระเตรียมให้ทั้งผู้ที่กำลังจะจากไปและทั้งผู้ที่ต้องถูกทิ้งอยู่เบื้องหลัง ได้สมดังความฝันที่มีร่วมกัน แม้ว่าพล็อตหนังจะคลาสสิก ที่ต้องมีความตายมาพรากฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งไป และหนังจะต้องแสดงให้เห็นความเสียสละและทุ่มเทเืพ่อความรักของอีกฝ่ายหนึ่งอย่างมากมาย หากแต่เมื่อดูหนังแบบนี้แต่ละเรื่อง ก็ทำให้เห็นว่า มนุษย์เราเบื้องลึกแล้วก็ต้องการดำรงรักษาความเป็นนิรันดร์ของความรักตนเองเอาไว้ให้ถึงที่สุด

"หนีตามกาลิเลโอ"


มิตรภาพของความเป็นเพื่อน ทดสอบความแข็งแรงได้เืมื่อต้องเดินทางไกลร่วมกัน ความฝันของคนหนุ่มสาวที่อยากผจญภัยในโลกกว้างด้วยตัวเอง อยากพบเจอโลกใบใหม่ที่ปลดแอกความทรงจำที่เป็นเงื่อนปมของชีวิตออกไป ที่สุดแล้วเมื่อดูหนังเรื่องนี้ อย่างน้อยก็ทำให้เรามีัแรงฮึดจะออกเดินทางไกลอีกครั้ง ไปหา "มิตรภาพ" :-)

วันศุกร์ที่ 24 กรกฎาคม พ.ศ. 2552

มีบางอย่างเปลี่ยนไปข้างในเรา....
สงบ ไม่ทุรนทุราย เข้าใจอย่างลึกซึ้ง กับการเปลี่ยนแปลงต่างๆยิ่งขึ้น
หวังว่ามันจะคงอยู่กับเราได้อย่างตลอดรอดฝั่ง
รู้สึกแน่ใจมากขึ้นทุกวันว่า กำลังจะมีการเปลี่ยนแปลงทีละเล็กทีละน้อย
ใันวันต่อๆไปนับจากนี้ :-)

วันพุธที่ 15 กรกฎาคม พ.ศ. 2552

หวงเยวี่ยน

เมื่ออ่านสามเล่มนี้จบลงก็บอกตัวเองเลยว่าหลงรักนักเขียนคนนี้เข้าเต็มเปา หวงเหยี่ยน นักเขียนไต้หวันรุ่นใหม่ที่มาแรงที่สุดในยุคนี้ ตอนที่เริ่มอ่านเล่มแรกคือ "เรื่องรักของเรา" เพราะความบังเอิญแท้ๆไม่เคยรู้จักและไม่เคยอ่านงานของนักเขียนไต้หวันมา่ก่อน เล่มแรกนั้นเสมือนเปิดหัวใจให้งานของนัีกเขียนคนนี้ที่มีแสบๆคันๆทว่ามีความลึกซึ้งยิ่งนักกับชีวิตและความสัมพันธ์ของมนุษย์ จากนั้นก็เลยติดตามงานของเขาที่แปลเป็นภาษาไทยต่อมาอีกทั้งสองเล่มคือ "ผู้ชายเหมือนระเบิด" และ "ฆ้อน กรรไกร กระดาษ" สิ่งที่ประจักษ์ในงานเขียนของหวงเหยี่ยนที่เด่นชัดคือเราสามารถรู้สึกได้ถึงกลิ่นอายของสำนวนภาษาและวิธีคิดแบบนิยายกำลังภายในแบบดั้งเดิมของจีนที่มักจะเกี่ยวข้องกับเรื่องคุณธรรมน้ำมิตร ความเป็นพี่น้องร่วมสาบาน ความซื่อสัตย์ที่แข็งแกร่ง ความจงรักภักดีจนวันตาย แต่ทั้งหมดนั้นอยู๋ในหีบห่อที่เป็นโลกสมัยใหม่ สภาพแวดล้อม วิถีชีวิตคนรุ่นใหม่ทั้งสิ้น เป็นความแปลกประหลาดอย่างยิ่งหากก็กลมกลืนไร้ที่ติ

หากใครยังไม่เคยรู้จักดหรือแม้แต่ยังไม่เคยได้ยินชื่อของเขา และหากชอบงานเขียนสมัยใหม่ที่เกี่ยวกับชีวิต ความรัก ของคนสมัยใหม่ก็ลองไปหาอ่านกันได้เลย ขอแนะนำ


ถ้าหากระหว่างเธอกับฉันมีสายใยเชื่อมโยงอยู่ สายใยเส้นนั้นควรเป็นสีอะไร สีดำ คือความแค้น สีฟ้าคือคิดถึง สีแดงคือบุพเพ สีรุ้งคือความรัก ฉันก้มลงคลำหาปลายเส้นบนข้อเท้าอย่างตื่นเต้นดีใจ ทำไมจึงมีแต่เส้นด้ายสีตก ที่ขาดวิ่นและแตกปลาย










ความสุขอยู่ที่ไหน
ความสุขกำลังจะมาแล้วหรือ!
ความสุขทำอะไรอยู่
ความสุขนอนเปลือยกายอยู่ข้างๆ แล้ว!











ฆ้อน กรรไกร กระดาษ เกมวัดใจที่ไม่ต้องใช้เทคนิค ไม่ต้องวางกลลึกเพราะถึงที่สุดแล้วคุณจะโดนฝ่ายตรงข้ามอ่านทางออกจนหมดเปลือก ทางเดียวที่คุณจะชนะเกมได้อย่างแท้จริงคือการอ่านใจฝ่ายตรงข้ามให้ทะลุเท่านั้น

วันพฤหัสบดีที่ 9 กรกฎาคม พ.ศ. 2552

The Road Home




มีคนบอกว่าใครดูหนังเรื่องนี้ต้องเสียน้ำตาทุกคนไม่ว่าจะหญิงหรือชาย และอาจเป็นหนังรักที่ดีที่สุดของจางอี้โหมว

วันจันทร์ที่ 6 กรกฎาคม พ.ศ. 2552

บางครั้งการรอคอยอะไรสักอย่างให้มาถึงและจบลงก็เป็นความตื่นเต้นแบบหนึ่ง คล้ายกับเวลาเรารอดูตอนจบของละคร ทั้งๆที่เราก็เดาได้อยู่แล้วว่ามันจะจบอย่างไรแต่เราก็ยังกระตือรือร้น/เฝ้าดูว่าตอนจบจะเป็นอย่างที่เราจินตนาการไว้หรือไม่ ฉันมักได้ยินคำพูดประมาณว่า "การรอคอยเป็นศิลปะในการดำเนินชีวิตที่มีความสำคัญยิ่ง" ไม่ใช่ทุกคนจะสามารถ อดทนรอ ได้ เพราะนั่นหมายถึง การยินดีที่จะรับกับอะไรบางอย่างที่ไม่มีความชัดเจนแน่นอน แต่หากเราเรียนรู้ที่จะรอบางสิ่งได้ นั่นอาจเป็นสิ่งที่งดงามที่สุดของ การรอ ที่ไม่ได้สำคัญว่าเราจะพบหรือเจอกับอะไรตอนท้าย หากแต่มันคือห้วงยามระหว่างการรอต่างหากที่มีคุณค่า

วันอาทิตย์ที่ 5 กรกฎาคม พ.ศ. 2552

The grief of self-centered sorrow

How little attention we pay to things about us, to observe and to consider. We are so self-centered, so occupied with our worries, with our own benefits, we have no time to observe and understand. This occupation makes our mind dull and weary, frustrated and sorrowful, and from sorrow we want to escape. As long as the self is active there must be weary dullness and frustration. People are caught in a mad race, in the grief of self-centered sorrow. This sorrow is deep thoughtlessness. The thoughtful, the watchful are free from sorrow.

Letters to a Young Friend - 24

วันพฤหัสบดีที่ 2 กรกฎาคม พ.ศ. 2552

เก็บตกจากงานสัมมนาอุดมศึกษาไทย

เมื่อวานไปฟังสัมมนาวิชาการระดับชาติอุดมศึกษาไทย จัดโดย สกอ. ที่อิมแพคอารีน่า เมืองทองธานี ตั้งใจไปฟังสองเวที คือ เรื่องอนาคตอุดมศึกษาไทย โดย ศ.นพ.วิจารณ์ พานิช และอีกเวทีคือ การศึกษาที่สร้างพลเมืองโลก โดยสามคน คือ ดร.วุฒิพงษ์ เพรียบจริยวัฒน์ รศ.ดรอเนก เหล่าธรรมทัศน์ และ คุณวิกรม กรมดิษฐ์ โดยเฉพาะเวทีที่สองนี้มันส์มาก ทั้งสามคนมีมุมมองบางแง่ที่ต่างกันพอสมควรรวมทั้งบุคลิกในการแสดงแกก็ไม่เหมือนกัน แต่เรื่องนึงที่เหมือนกันนั่นคือความเผ็ดร้อนในเนื้อหาการแลกเปลี่ยนพูดคุย

สิ่งที่ได้เก็บมาจากเวทีแรกของหมอวิจารณ์ ซึ่งคิดว่าน่าสนใจและทำให้เราเองเกบมาขบคิดต่อคือ ลักษณะความรู้สองแบบ คือ knowledge creation (kc) และ knowledge translation (kt) สถาบันการศึกษาโดยทั่วไปสร้างความรู้และให้น้ำหนักความสำคัญกับความรู้ทั้งสองแบบแตกต่างกันออกไป สำหรับ kc คือความรู้ที่ถูกสร้างขึ้นมาด้วยความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ นั่นหมายความว่ากระบวนการสร้างความรู้แบบนี้ต้องส่งเสริมให้ผูเรียนมีความคิดริเริ่มและเข้าใจ+ทำเป็น ที่จะสร้างสรรค์ความรู้บางอย่างออกมา ส่วน kt คือความรู้ที่เกิดจากการดัดแปลง/ประยุกต์ / เปลี่ยนแปลง เพื่อนำไปใช้ในบริบทต่างๆ ซึ่งลักษณะนี้โดยเป็นรูปแบบที่สถาบันการศึกษาทั่วไปใช้อยู่ในการเรียนการสอน อย่างไรก็ตามความรู้ทั้งสองแบบมีความจำเป็นในบางลักษณะที่ต่างกัน แต่สังคมไทยอาจมีความรู้ในแบบแรกน้อยกว่าแบบสองค่อนข้างมาก ซึ่งมันมีความจำเป็นอย่างยิ่งต่อการพัฒนาสังคมเพื่อการเรียนรู้

เวทีที่สองเรืองการศึกษาเพื่อความเป็นพลเมืองโลกก็ดุเด็ดเผ็ดมันส์ เริ่มคนแรก ดร.วุฒิพงษ์ เสนอรูปแบบหลักของระบบการศึกษาไทยตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน และวิพากษ์วิจารณ์อย่างหนักถึงมหาวิทยาลัยต่างๆในปัจจุบันว่าพยายามที่จะสร้างผลกำไรมากเกินไปจนไม่ให้ความสำคัญกับคุณภาพการศึกษาและผู้เรียน ใช้ใบปริญญามาเป็นสินค้าหลักในการขาย และเสนอว่ามหาวิทยาลัยต่างๆควรเลิกที่จะพยายามตามแบบ Chula Syndrome เพราะมันอาจไม่ใช่ทางเลือกสุดท้ายที่ดีที่สุด ข้อเสนอที่น่าสนใจที่สุด (สำหรับเรา) คือ การสร้างระบบมหาวิทยาลัย University System ที่มีมาตรฐานและทรัพยากรที่เท่าเทียม+มีคุณภาพ แบบที่สามารถแลกเปลี่ยนทรัพยากรกันได้ ดังเช่นที่แคลิฟอเนีย ซึ่งมหาวิทยาลัยที่นั่นมีการแลกเปลี่ยนทรัพยากรบุคคลระหว่างกันรวมทั้งมีมาตรฐานมหาวิทยาลัยในรัฐที่ใกล้เคียงหรือเหมือนกัน ดร.วุฒิพงษ์จึงเสนอว่าบรรดามหาวิทยาลัยราชภัฏต่างๆประมมาณสี่สิบแห่งในประเทศไทยก็น่าจะปรับปรุงคุณภาพให้ Rajbhatr University System เพื่อให้เกิดมาตรฐานการศึกษาของแต่ละแห่งที่ดีขึ้นและตอบโจทย์การเรียนการสอนที่รับใช้พื้นที่นั้นๆได้อย่างแท้จริง

อาจารย์อเนก เสนอเรื่องการศึกษาที่ส่งเสริมให้คนเข้าใจท้องถิ่นของตัวเองอย่างคลอบคลุม หลากหลาย และลึกซึ้งยิ่งขึ้น ในขณะเดียวกันก็ต้องเข้าใจความเปลี่ยนแปลงของโลกอย่างบรู้เท่าทันด้วย เพื่อจะเชื่อมโยงความเป็นท้องถิ่นในบริบทโลกได้ซึ่งจำเป็นสำหรับการใช้ชีวิตและการเป็นส่วนหนึ่งของการพัฒนาสังคม สำหรับคุณวิกรม กรมดิษฐ์ พูดในแง่มุมของผู้ซึ่งใช้บุคคลากรที่ผลิตออกจากสถาบันการศึกษา เขาเปรียบเทียบว่าบุคคลากรคนไทยยังเก่งสู้คนเวียดนามไม่ได้ และเวียดนามกำลังจะไปไกลกว่าเราอีกมากในอีก 5-10 ปีข้างหน้า ความสำคัญของคนมีผลอย่างยิ่งในภาคการผลิต/ภาคเศรษฐกิจ การที่ไทยยังไปไหนได้ไม่ไกลสำหรับเขาเงื่อนไขสำคัญก็มาจากคุณภาพคนทำงาน และมองว่ารัฐบาลไทยไม่เคยจริงจังต่อการพัฒนาการศึกษาหรือให้โอกาสทางการศึกษาอย่างจริงจัง ทั้งสามคนมองว่าการปฏิรูปการศึกษาที่ผ่านมาซึ่งกำลังจะครบสิบปีในเดือนสิงหาคมไม่ได้เปลี่ยนแปลงระบบการศึกษาไทยในเชิงคุณภาพที่ดีขึ้นแม้แต่น้อย มันเปลี่ยนแปลงแค่ระบบวิธีการโยกย้ายข้าราชการกระทรวงศึกษาธิการเท่านั้น

นั่งฟังทั้งหมดแล้วก็ทั้งรู้สึกอึ้งและเศร้าใจขึ้นมาเล็กน้อย ในฐานะที่เราเป็นจุดเล็กๆจุดนึงในระบบการศึกษาที่พยายามจะทำอะไรบางอย่างที่จะเปลี่ยนแปลง/ปรับปรุง ให้ผู้เรียนมีคุณภาพการเรียนรู้ที่ดีขึ้น+มีจิตสำนึกร่วมทางสังคม แต่ดูเหมือนเรายังต้องเดินทางอีกไกลมากกกกกกกกก...และยังต้องสู้กับระบบใหญ่ที่ก็ไม่ได้เอื้ออำนวยให้เกิดการเปลี่ยนแปลงอะไรที่ดีขึ้นแม้แต่น้อย

Distance and space is a thing of the mind

How clear the blue sky is, vast, timeless and without space. Distance and space is a thing of the mind; there and here are facts, but they become psychological factors with the urge of desire. The mind is a strange phenomenon. So complex and yet so essentially simple. It is made complex by the many psychological compulsions. It is this that causes conflict and pain, the resistance and the acquisitions. To be aware of them, and let them pass by and not be entangled in them, is arduous. Life is as a vast flowing river. The mind holds in its net the things of this river, discarding and holding. There should be no net. The net is of time and space, it is the net that creates here and there; happiness and unhappiness.
Letters to a Young Friend - 20