วันพุธที่ 29 ตุลาคม พ.ศ. 2551

Can a human being changed?


One must have asked oneself, I'm quite sure, whether one changes at all. I know that outward circumstances change; we marry, divorce, have children; there is death, a better job, the pressure of new inventions, and so on. Outwardly there is a tremendous revolution going on in cybernetics and automation. One must have asked oneself whether it is at all possible for one to change at all, not in relation to outward events, not a change that is a mere repetition or a modified continuity, but a radical revolution, a total mutation of the mind. When one realizes, as one must have noticed within oneself, that actually one doesn't change, one gets terribly depressed, or one escapes from oneself. So the inevitable question arises: can there be change at all? We go back to a period when we were young, and that comes back to us again. Is there change at all in human beings? Have you changed at all? Perhaps there has been a modification on the periphery, but deeply, radically, have you c hanged? Perhaps we do not want to change because we are fairly comfortable.…

I want to change. I see that I am terribly unhappy, depressed, ugly, violent, with an occasional flash of something other than the mere result of a motive; and I exercise my will to do something about it. I say I must be different, I must drop this habit, that habit; I must think differently; I must act in a different way; I must be more this and less that. One makes a tremendous effort and at the end of it one is still shoddy, depressed, ugly, brutal, without any sense of quality. So one then asks oneself if there is change at all. Can a human being change?


Krishnamurti.

วันจันทร์ที่ 27 ตุลาคม พ.ศ. 2551

ไร้หัวข้อ..

เขียนไม่ออกอ่ะ รู้แต่ว่าอยากเขียนอะไรสักอย่างที่มันไม่ต้องมีจุดหมายหรือมีหัวข้อ รู้สึกแต่ว่าช่วงนี้มีความรู้สึกและความคิดล้านอย่างลอยไปมาอยู่ในหัว อธิบายออกมาอย่างเป็นระบบไม่ได้ ไร้ "สติ" สุดๆ อุตส่าห์ตั้งใจจะฝึกเจริญสติในชีวิตประจำวัน ยังทำไม่ค่อยได้ พัฒนาขึ้นเพียงไม่มีปฏิกิริยาแบบ "ทันควัน" กับบางสิ่งที่มันเป็น "ตัวจี๊ด" เจ้าประจำเท่านั้น ก็ยังดีหน่อยที่ครองสติไว้ได้

ไอ้อารมณ์ประมาณนี้มันมาเยี่ยมเยือนอยู่เรื่อยๆ พูดไม่ออก บอกไม่ถูก ว่าเป็นอะไร ต้องการอะไร บังเอิญก้ไปอ่านเจอข้อแนะนำที่ชัดเจนและน่าสนใจตากหนังสือ The Last Lecture เขียนโดย Randy Pausch ที่บอกว่ามันมีความแตกต่างระหว่างสิ่งที่เป็น Disease และ Symthom เพราะฉะนั้นต้องพิจารณามันให้ดีว่าปัญหาหรือความทุกข์เของเรามันอยู่ในขั้นไหน เพราะถ้าหากมันเป็น Disease ก็ทางยามารักษาเสีย เป็นแค่อาการเจ็บป่วยทางกายเท่านั้น ไม่ต้องอ้อมค้อมไปไหนไกล รักษากันตรงๆไปเลย แต่หากดูแล้วมันเป็นSymthom จะซับซ้อนมากกว่า เพราะมันบวกเอาอาการเจ็บป่วยทางใจเข้าไปด้วย ทีนี้จรักษาด้วยยาธรรมดาไม่ไหว ต้องอาศัยวิธีการอย่างอื่น ที่ช่วยเยียวยาความเจ็บปวดทางใจด้วย ซึ่งก็ขึ้นอยู่ด้วยว่าเรื้อรังขนาดไหน

ฉะนั้นเราเองตอนนี้ก็วินิจฉัยมันอยู่ว่าไอ้อาการทั้งหลายแหล่เนี่ย มันอยู่ขั้นไหนกันบ้างแล้ว ไม่ว่าเป็น Disease หรือ Symthom จะได้รักษากันได้ถูกที่ ถูกเวลา :D

วันศุกร์ที่ 17 ตุลาคม พ.ศ. 2551

The Last Lecture:Acheiving your childhood dreams


I started reading one of famous books at current time,"The last lecture",by Randy Pausch. And I was attracted with his important question of a topic for his last lecture. "Achieving your childhood dreams"was the beginning mission to conclude his whole journey.He inspired me to restart considering on the true significance of my whole life and made me bellieve what we get will lead us to reach the great moment of our lifetime.

I deeply reminded of my childhood dreams and found that some were left but some were still, sparkling on my mind and waiting me to catch it up for somedays.

วันจันทร์ที่ 13 ตุลาคม พ.ศ. 2551

วันหนึ่ง ณ เพชรบุรี






วันนี้เดินทางไปเยี่ยมติดตามโครงการให้กับเครือข่ายพุทธิกาที่เพชรบุรี ชื่อกลุ่ม "ยายกับตา"

ทำงานพัฒนาเยาวชน ด้วยประเด็นเกี่ยวกับวัฒนธรรม สิ่งแวดล้อม การศึกษา การเดินทางเริ่มต้นจากกรุงเทพฯเช้าตรู่เกือบหกโมงเช้าด้วยรถตู้ประจำทาง กรุงเทพ-เพชรบุรี สะดวก สบาย และเร็วดีมาก ใช้เวลาแค่ประมาณชั่วโมงครึ่งก็ถึงเมืองเพชรฯ


ด้วยมาถึงเช้าเกินไป เจ้าภาพโครงการยังไม่สามารถออกมาพบปะได้ เราจึงได้ใช้เวลาเดินตลาดเช้าและหาของกินในพื้นที่รับประทาน หลังจากเดินสอดส่องไปมาอยู่พัก ก็ตัดสินใจเลี้ยวเข้าร้านข้าวหมูแดงดูโบราณๆร้านหนึ่ง ที่ประเมินแล้วน่าจะรสชาติดีและจัดการข้าวเข้าที่นั่น จากนั้นก็ตาดีเจอร้านกาแฟโบราณอีก ก็เลยได้นั่งยาว จิบกาแฟโบราณไปพร้อมกับดูวิถีชีวิตของบรรดาคุณลุง คุณป้า ผู้อาวุโสในตลาด ที่มานั่งรวมกันดูข่าว ถกเถียงเรื่องบ้านเมืองอย่างออกรส ออกชาติ


ออกจากร้านกาแฟ ก็เดินข้ามฝั่งไปวัดมหาธาตุ เข้าไปไหว้พระพุทธรูป สักพักก็รับโทรศัพท์จากพี่หนุ่ย เจ้าของโครงการที่กำลังขับรถออกมารับ จากนั้นเราก็มุ่งไปที่วัดโคกซึ่งเป็นสถานที่จัดกิจกรรม เด็กๆที่มาร่วมกิจกรรมมาจากสองโรงเรียนในอำเภอเมืองและชะอำ กิจกรรมในครั้งนี้หลักๆคือการเตรียมทำข้าวปัต สำหรับงานตักบาตรเทโว การร้อยมะลิสำหรับบูชาพระ และการเตรียมอาหารทำบุญ ซึ่งกิจกรรมทั้งหมดเด้กๆได้ช่วยกันทำร่วมกัน โดยมีชาวบ้านมาให้ความรู้ พร้อมกับมีพี่เลี้ยงคอยแนะนำ


สำเร็จผ่านไปอีกวัน ถือว่าเป็นวันของการใช้เวลาได้อย่างคุ้มค่า เปลี่ยนบรรยากาศชีวิตในช่วงเวลาที่ห้อมล้อมปด้วยงานมากมาย และสถานการณ์บ้านเมืองที่ไม่สงบในกรุงเทพ