วันอังคารที่ 28 กรกฎาคม พ.ศ. 2552
Bloggling
วันเสาร์ที่ 25 กรกฎาคม พ.ศ. 2552
April Bride
"หนีตามกาลิเลโอ"
วันศุกร์ที่ 24 กรกฎาคม พ.ศ. 2552
วันพุธที่ 15 กรกฎาคม พ.ศ. 2552
หวงเยวี่ยน
ถ้าหากระหว่างเธอกับฉันมีสายใยเชื่อมโยงอยู่ สายใยเส้นนั้นควรเป็นสีอะไร สีดำ คือความแค้น สีฟ้าคือคิดถึง สีแดงคือบุพเพ สีรุ้งคือความรัก ฉันก้มลงคลำหาปลายเส้นบนข้อเท้าอย่างตื่นเต้นดีใจ ทำไมจึงมีแต่เส้นด้ายสีตก ที่ขาดวิ่นและแตกปลาย
ความสุขอยู่ที่ไหน
ความสุขกำลังจะมาแล้วหรือ!
ความสุขทำอะไรอยู่
ความสุขนอนเปลือยกายอยู่ข้างๆ แล้ว!
ฆ้อน กรรไกร กระดาษ เกมวัดใจที่ไม่ต้องใช้เทคนิค ไม่ต้องวางกลลึกเพราะถึงที่สุดแล้วคุณจะโดนฝ่ายตรงข้ามอ่านทางออกจนหมดเปลือก ทางเดียวที่คุณจะชนะเกมได้อย่างแท้จริงคือการอ่านใจฝ่ายตรงข้ามให้ทะลุเท่านั้น
วันพฤหัสบดีที่ 9 กรกฎาคม พ.ศ. 2552
The Road Home
มีคนบอกว่าใครดูหนังเรื่องนี้ต้องเสียน้ำตาทุกคนไม่ว่าจะหญิงหรือชาย และอาจเป็นหนังรักที่ดีที่สุดของจางอี้โหมว
วันจันทร์ที่ 6 กรกฎาคม พ.ศ. 2552
วันอาทิตย์ที่ 5 กรกฎาคม พ.ศ. 2552
The grief of self-centered sorrow
Letters to a Young Friend - 24
วันพฤหัสบดีที่ 2 กรกฎาคม พ.ศ. 2552
เก็บตกจากงานสัมมนาอุดมศึกษาไทย
สิ่งที่ได้เก็บมาจากเวทีแรกของหมอวิจารณ์ ซึ่งคิดว่าน่าสนใจและทำให้เราเองเกบมาขบคิดต่อคือ ลักษณะความรู้สองแบบ คือ knowledge creation (kc) และ knowledge translation (kt) สถาบันการศึกษาโดยทั่วไปสร้างความรู้และให้น้ำหนักความสำคัญกับความรู้ทั้งสองแบบแตกต่างกันออกไป สำหรับ kc คือความรู้ที่ถูกสร้างขึ้นมาด้วยความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ นั่นหมายความว่ากระบวนการสร้างความรู้แบบนี้ต้องส่งเสริมให้ผูเรียนมีความคิดริเริ่มและเข้าใจ+ทำเป็น ที่จะสร้างสรรค์ความรู้บางอย่างออกมา ส่วน kt คือความรู้ที่เกิดจากการดัดแปลง/ประยุกต์ / เปลี่ยนแปลง เพื่อนำไปใช้ในบริบทต่างๆ ซึ่งลักษณะนี้โดยเป็นรูปแบบที่สถาบันการศึกษาทั่วไปใช้อยู่ในการเรียนการสอน อย่างไรก็ตามความรู้ทั้งสองแบบมีความจำเป็นในบางลักษณะที่ต่างกัน แต่สังคมไทยอาจมีความรู้ในแบบแรกน้อยกว่าแบบสองค่อนข้างมาก ซึ่งมันมีความจำเป็นอย่างยิ่งต่อการพัฒนาสังคมเพื่อการเรียนรู้
เวทีที่สองเรืองการศึกษาเพื่อความเป็นพลเมืองโลกก็ดุเด็ดเผ็ดมันส์ เริ่มคนแรก ดร.วุฒิพงษ์ เสนอรูปแบบหลักของระบบการศึกษาไทยตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน และวิพากษ์วิจารณ์อย่างหนักถึงมหาวิทยาลัยต่างๆในปัจจุบันว่าพยายามที่จะสร้างผลกำไรมากเกินไปจนไม่ให้ความสำคัญกับคุณภาพการศึกษาและผู้เรียน ใช้ใบปริญญามาเป็นสินค้าหลักในการขาย และเสนอว่ามหาวิทยาลัยต่างๆควรเลิกที่จะพยายามตามแบบ Chula Syndrome เพราะมันอาจไม่ใช่ทางเลือกสุดท้ายที่ดีที่สุด ข้อเสนอที่น่าสนใจที่สุด (สำหรับเรา) คือ การสร้างระบบมหาวิทยาลัย University System ที่มีมาตรฐานและทรัพยากรที่เท่าเทียม+มีคุณภาพ แบบที่สามารถแลกเปลี่ยนทรัพยากรกันได้ ดังเช่นที่แคลิฟอเนีย ซึ่งมหาวิทยาลัยที่นั่นมีการแลกเปลี่ยนทรัพยากรบุคคลระหว่างกันรวมทั้งมีมาตรฐานมหาวิทยาลัยในรัฐที่ใกล้เคียงหรือเหมือนกัน ดร.วุฒิพงษ์จึงเสนอว่าบรรดามหาวิทยาลัยราชภัฏต่างๆประมมาณสี่สิบแห่งในประเทศไทยก็น่าจะปรับปรุงคุณภาพให้ Rajbhatr University System เพื่อให้เกิดมาตรฐานการศึกษาของแต่ละแห่งที่ดีขึ้นและตอบโจทย์การเรียนการสอนที่รับใช้พื้นที่นั้นๆได้อย่างแท้จริง
อาจารย์อเนก เสนอเรื่องการศึกษาที่ส่งเสริมให้คนเข้าใจท้องถิ่นของตัวเองอย่างคลอบคลุม หลากหลาย และลึกซึ้งยิ่งขึ้น ในขณะเดียวกันก็ต้องเข้าใจความเปลี่ยนแปลงของโลกอย่างบรู้เท่าทันด้วย เพื่อจะเชื่อมโยงความเป็นท้องถิ่นในบริบทโลกได้ซึ่งจำเป็นสำหรับการใช้ชีวิตและการเป็นส่วนหนึ่งของการพัฒนาสังคม สำหรับคุณวิกรม กรมดิษฐ์ พูดในแง่มุมของผู้ซึ่งใช้บุคคลากรที่ผลิตออกจากสถาบันการศึกษา เขาเปรียบเทียบว่าบุคคลากรคนไทยยังเก่งสู้คนเวียดนามไม่ได้ และเวียดนามกำลังจะไปไกลกว่าเราอีกมากในอีก 5-10 ปีข้างหน้า ความสำคัญของคนมีผลอย่างยิ่งในภาคการผลิต/ภาคเศรษฐกิจ การที่ไทยยังไปไหนได้ไม่ไกลสำหรับเขาเงื่อนไขสำคัญก็มาจากคุณภาพคนทำงาน และมองว่ารัฐบาลไทยไม่เคยจริงจังต่อการพัฒนาการศึกษาหรือให้โอกาสทางการศึกษาอย่างจริงจัง ทั้งสามคนมองว่าการปฏิรูปการศึกษาที่ผ่านมาซึ่งกำลังจะครบสิบปีในเดือนสิงหาคมไม่ได้เปลี่ยนแปลงระบบการศึกษาไทยในเชิงคุณภาพที่ดีขึ้นแม้แต่น้อย มันเปลี่ยนแปลงแค่ระบบวิธีการโยกย้ายข้าราชการกระทรวงศึกษาธิการเท่านั้น
นั่งฟังทั้งหมดแล้วก็ทั้งรู้สึกอึ้งและเศร้าใจขึ้นมาเล็กน้อย ในฐานะที่เราเป็นจุดเล็กๆจุดนึงในระบบการศึกษาที่พยายามจะทำอะไรบางอย่างที่จะเปลี่ยนแปลง/ปรับปรุง ให้ผู้เรียนมีคุณภาพการเรียนรู้ที่ดีขึ้น+มีจิตสำนึกร่วมทางสังคม แต่ดูเหมือนเรายังต้องเดินทางอีกไกลมากกกกกกกกก...และยังต้องสู้กับระบบใหญ่ที่ก็ไม่ได้เอื้ออำนวยให้เกิดการเปลี่ยนแปลงอะไรที่ดีขึ้นแม้แต่น้อย
Distance and space is a thing of the mind
Letters to a Young Friend - 20